วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประเภทของคำสั่ง SQL


1. ภาษาสำหรับนิยามข้อมูล (Data Definition Language : DDL) ประกอบด้วยคำสั่งที่ใช้ในการกำหนดโครงสร้างข้อมูลว่ามีคอลัมน์อะไร แต่ละคอลัมน์เก็บข้อมูลประเภทใด รวมถึงการเพิ่มคอลัมน์ การกำหนดดัชนี การกำหนดวิวของผู้ใช้

2. ภาษาสำหรับการจัดการข้อมูล (Data Manipulation Language : DML) ประกอบด้วยคำสั่งที่ใช้ในการเรียกใช้ข้อมูล การเปลี่ยนแปลงข้อมูล การเพิ่มหรือลบข้อมูล

3. ภาษาที่ใช้ในการควบคุมข้อมูล (Data Control Language : DCL) ประกอบด้วยคำสั่งที่ใช้ในการควบคุม หรือป้องกันการเกิดเหตุการณ์ที่ผู้ใช้หลายคนเรียกใช้ข้อมูลพร้อมกัน โดยที่ข้อมูลนั้น ๆ อยู่ในระหว่างการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ผู้ใช้อีกคนหนึ่งก็เรียกใช้ข้อมูลนี้ ทำให้ข้อมูลที่ผู้ใช้คนที่สองได้ไปเป็นค่าเก่าที่ไม่ถูกต้อง ทั้งนี้เพราะผู้ใช้คนแรกยังปรับปรุงแก้ไขข้อมูลไม่เสร็จ นอกจากนี้ ยังประกอบด้วยคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมความปลอดภัยของข้อมูลด้วยการ ให้สิทธิ์ผู้ใช้ที่แตกต่างกัน

การบ้าน ปฏิบัติการที่ 6 SQL


 h .จากข้อ e เมื่อแปลออกมาเป็นภาษามนุษย์จะได้ว่า “ให้เลือกฟิลด์รหัสนิสิต  ชื่อนิสิต  อาจารย์ที่ปรึกษา และชั้น จากตารางนักเรียน (student) โดยมีเงื่อนไขคือเป็นเป็นนิสิตชั้นปีที่ 2  ให้ลองแปลข้อ f ออกมาเป็นภาษาคำถามของมนุษย์
       จากข้อ f  จะได้ว่า   SELECT   Studentid,Name,Advisor,class,hobby
                                      FROM  student
                                      WHERE hobby LIKE 'อ่านหนังสือ' ;



 ตอบ   ให้เลือกฟิลด์รหัสนิสิต  ชื่อนิสิต  อาจารย์ที่ปรึกษา  และชั้น จากตารางนักเรียน (student) โดยมีเงื่อนไขคือต้องแสดงเฉพาะงานอดิเรกอ่านหนังสือ

   i  ให้นิสิตสืบค้นข้อมูลด้วยภาษา SQL ตามคำถาม “ให้เลือกฟิลด์ทั้งหมดจากตารางรายวิชา(subject) ”
SELECT *
FROM subject;



  j.       ให้นิสิตสืบค้นข้อมูลด้วยภาษา SQL  ตามที่ถาม“ให้เลือกฟิลด์รหัสรายวิชา  ชื่อรายวิชา  และจำนวนหน่วยกิต จากตารางรายวิชา (subject) ”
SELECT subjectid,name,credit
FROM subject;



  k. ให้นิสิตสืบค้นข้อมูลด้วยภาษา SQL ตามคำถาม “ให้เลือกฟิลด์รหัสรายวิชา  ชื่อรายวิชา  และจำนวนหน่วยกิต จากตารางรายวิชา (subject) โดยมีเงื่อนไข คือต้องแสดงเฉพาะรายวิชา 104111”
SELECT subjectid,name,credit
FROM subject
WHERE   subjectid = 104111;


 

 p.  ให้นิสิตสืบค้นข้อมูลด้วยภาษา SQL ตามคำถาม “ให้เลือกฟิลด์รหัสนิสิต  ชื่อนิสิต  คะแนน  เกรด  และชื่อรายวิชา จากตารางนักเรียน (student) การลงทะเบียน  (Register)  และรายวิชา(Subject) โดยเงื่อนไขคือแสดงเฉพาะรายวิชารหัส 104111  เท่านั้น  และนิสิตอยู่ในชมรมภูมิศาสตร์เท่านั้น”
 SELECT Student.Studentid,Student.Name,Register.Score,Register.Grade , Subject.Name,Student.club
 FROM Register, Student,Subject
 WHERE (Register.Studentid = Student.Studentid) And (Register.Subjectid = Subject.Subjectid AND Register.Subjectid = 104111) AND  Student.club ='ภูมิศาสตร์';



 ตอบ  ให้เลือกฟิลด์รหัสนิสิต  ชื่อนิสิต  คะแนน  เกรด  และชื่อรายวิชา จากตารางนักเรียน (student) การลงทะเบียน  (Register)  และรายวิชา(Subject) โดยมีเงื่อนไขคือแสดงเฉพาะรายวิชารหัส 104111  เท่านั้น



























วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ภาษาที่ใช้ในระบบการจัดการฐานข้อมูล

ภาษาที่ใช้ในระบบการจัดการฐานข้อมูล


          ภาษาที่ใช้ในระบบฐานข้อมูลจะใช้ภาษาเอสคิวแอลหรือ SQL ย่อมาจาก Structure Query Language (SQL) หรือเรียกว่า ซีเควล ภาษา SQL มักจะนำมาใช้กับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ซึ่งเป็นภาษามาตรฐานมีลักษณะคล้ายกับภาษาอังกฤษ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่
1. ภาษาสำหรับการนิยามข้อมูล (Data Definition Language: DDL)
2. ภาษาสำหรับการจัดการข้อมูล (Data Manipulation Language: DML)
3. ภาษาควบคุม (Control Language)  
ภาษาสำหรับการนิยามข้อมูล ประกอบด้วย คำสั่งสำหรับสร้างโครงสร้างตารางและกำหนดชนิดของข้อมูล ขนาดของข้อมูลที่จะเก็บ
 ภาษาสำหรับการจัดการข้อมูล ประกอบด้วยคำสั่งสำหรับจัดการข้อมูล เช่น เพื่อแทรกข้อมูลเข้าสู่ตาราง เพื่อต้องการเรียกข้อมูลจากตารางมาแสดงผลที่จอภาพ หรือ เพื่อแก้ไข หรือลบข้อมูลที่ไม่ต้องการ
ภาษาควบคุม จะประกอบด้วยคำสั่งสำหรับการอนุญาตให้ผู้ใช้แต่ละคนหรือกลุ่มผู้ใช้กลุ่มใด ๆ มีสิทธิในการใช้คำสั่งใด ๆ ได้บ้าง รวมทั้งคำสั่งสำหรับสำรองข้อมูลไม่ให้เสียหายและคำสั่งในการกู้คืนข้อมูลในกรณีที่ข้อมูลได้รับความเสียหายไปแล้ว

9 อันดับทะเลที่มีชายหาดสวยที่สุดในโลก

9 อันดับทะเลที่มีชายหาดสวยที่สุดในโลก
          “ทะเล” สถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในหน้าร้อน “ทะเลสวย” มักอยู่ไกล ไปไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยากเกินใจและความพยายามของมนุษย์ ยิ่งยาก ยิ่งท้าทาย ยิ่งสวย ยิ่งอยากเห็น “ชายหาดสวย“ ในที่นี้หมายถึงสวยด้วยทัศนียภาพและอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ปราศจากสิ่งปรุงแต่งใดๆ คงรักษาไว้ซึ่งระบบนิเวศน์ .. แอบดีใจลึกๆ และก็แอบหวั่นใจลึกๆ ยิ่งมนุษย์ดั้นด้นเสาะแสวงหา ยิ่งทำให้กลัวว่าสมดุลทางธรรมชาติอาจเสียไป

SEYCHELLES
seychelles


         “หมู่เกาะเซเชลส์” หรือ “สาธารณรัฐเซเชลส์” สววรค์แห่งมหาสมุทรอินเดีย ประกอบด้วยเกาะถึง 115 เกาะ ห่างจากชายฝั่งแอฟริกาทางตะวันออก อยู่ทางตอนเหนือของมาดากัสการ์ เหมาะเป็นที่เอนกายชาร์ตแบตสำหรับนักท่องเที่ยวที่หลงใหลการนอนเล่นชายหาดอาบแสงอาทิตย์

CAPE TOWN
capetown


         “เคปทาวน์” เมืองเล็กๆ อยู่ทางตอนใต้ของแอฟริกาใต้ เป็นเมืองที่สวยที่สุดและมีเสน่ห์ที่สุดเมืองหนึ่งในโลก จุดเด่นของเมืองอยู่ที่ภูเขาลูกใหญ่กลางเมืองที่สามารถมองเห็นได้จากทุกสารทิศ รูปทรงแปลกตาคือ มีลักษณะเสมือนโต๊ะที่ตั้งอยู่บนแผ่นดิน จึงทำให้ภูเขาลูกนี้ได้รับการตั้งชื่อว่า ภูเขาโต๊ะ หรือ Table Mountain

CORONADO BEACH
coronado-beach


          นักโต้คลื่นมือสมัครเล่นต้องจัดมา Coronado Beach ชายหาดแถบแคลิฟอร์เนียซักครั้ง เพราะคลื่นถาโถมสม่ำเสมอ ถ้าได้งัดข้อกันทุกวันจนเอาอยู่ อาจเปลี่ยนท่านเป็นนักโต้คลื่นชั้นเซียนในเร็ววัน

 GEORGIA
cumberland-island


           เอกลักษณ์ของเกาะ Cumberland รัฐจอร์เจีย คือเหล่าเปลือกหอยน้อยใหญ่ที่คอยสร้างสีสันให้ชายหาด เริ่มแรกเกาะนี้แทบจะไม่มีคนรู้จัก จนกระทั่งมือดีสืบได้ว่า John F. Kennedy Jr. และ Carolyn Bessetteแอบมาจัดงานแต่งกันลับๆ ที่นี่ ในปี 1996

AUSTRALIA
fraser-island


          ภาพน้ำทะเลใสซัดชายฝั่ง “Fraser Island” ออสเตรเลีย สะกดสายตาคนถวิลหาธรรมชาติได้ดีที่สุด เป็นเกาะที่มีหาดทรายกว้างใหญ่ที่สุดในโลก อยู่ไม่ห่างจากชายฝั่งรัฐควีนส์แลนด์นัก

MYKONOS ISLAND
greece-mykonos


          นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกมักจะหลงมนต์เสน่ห์ในรูปลักษณ์แห่งสถาปัตยกรรม หาดทรายที่สวยงามตามธรรมชาติไร้ซึ่งการแต่งเติมจากฝีมือมนุษย์ และสีสันแห่งชีวิตชีวายามคำคืนของ “Mykonos Island” เกาะที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของประเทศกรีซ

อ่าวมาหยา ประเทศไทย

mayabay



          หลังจาก “หมู่เกาะพีพี” ถูกคลื่นยักษ์สึนามิเข้าถาโถม “อ่าวมาหยา” ที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นหาดทรายขาวที่น่าสัมผัสที่สุดแห่งหนึ่ง ก็ได้รับการฟื้นฟูทางธรรมชาติให้กลับมาอุดมสมบูรณ์และสวยงามอีก

HARBOUR ISLAND
harbour-island


          น้ำทะเลสะอาดใสบวกกับกระแสน้ำอุ่นจากอ่าว เกิดเป็นสมดุลทางธรรมชาติ ทำให้ Harbour Island กลายเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำนานาพันธุ์ นักท่องเที่ยวที่รักการผจญภัยจะไม่พลาดการมาเยือน Bahamas

 NORTH CAROLINA
ocracoke-island


          หย่อมหญ้าเป็นจุดๆ ชี้ให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ใต้ผืนทรายของชายหาด Ocracoke Island ซึ่งเป็นที่ตั้งถิ่นฐานในยุคแรกๆ ของชาวยุโรป Ocracoke เป็นส่วนหนึ่งของ Outer Banks เกาะที่ต้องใช้ความพยายามในการดั้นด้นไปให้ถึง จึงเป็นที่ดึงดูดของนักแสวงหาธรรมชาติ

วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เศรษฐกิจพอเพียง

หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง
          การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง  และความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง     มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้

     1. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อ ความมั่นคง และ ความยั่งยืน ของการพัฒนา
     2. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
     3. คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้
                 o ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
                 o ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
                 o การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
      4. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
                 o เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
                 o เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
      5. แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

 ประมวลคําในพระบรมราโชวาทพอเพียง

          อันนี้เคยบอกว่า ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอําเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ ก็ขายได้ แต่ขายในที่ ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก

(พระราชดํารัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๐)

     คนอื่นเขาต้องมีการเศรษฐกิจ ที่ต้องมีการแลกเปลี่ยน เรียกว่าเป็นเศรษฐกิจการค้า ไม่ใช่เศรษฐกิจความพอเพียงเลยรู้สึกว่า ไม่หรูหรา แต่เมืองไทยเป็นประเทศที่มีบุญอยู่ว่า ผลิตให้พอเพียงได้

(พระราชดํารัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๐)

     เศรษฐกิจแบบค้าขาย ภาษาฝรั่งเขาเรียกว่า “Trade Economy” ไม่ใช่ “แบบพอเพียง” ซึ่งฝรั่งเรียก “Self Sufficient Economy” คือเศรษฐกิจแบบพอเพียงกับตัวเอง เราก็อยู่ได้ ไม่ต้องเดือดร้อน

(พระราชดํารัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔o )



         

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แผ่นดินไหว 5.6 นอกฝั่งเกาะแวนคูเวอร์ แคนาดา สะเทือนกว่า 400 กม.


   เอเจนซีส์/ASTV ผู้จัดการออนไลน์-สำนักงานสำรวจธรณีวิทยาแห่งชาติสหรัฐฯ (ยูเอสจีเอส) รายงานวันนี้ (19)ว่าเกิดแผ่นดินไหวขนาดปานกลางซึ่งสามารถวัดความรุนแรงได้ที่ระดับ 5.6 ใกล้กับเขตปกครองโทฟิโน บนเกาะแวนคูเวอร์ของแคนาดา เบื้องต้นยังไม่มีรายงานความเสียหาย
     
        ข้อมูลของยูเอสจีเอสระบุว่า ศูนย์กลางของแผ่นดินไหวระดับ 5.6 ครั้งนี้ อยู่ลึกลงไปในมหาสมุทรแปซิฟิกเพียงแค่ 10.1 กิโลเมตรเท่านั้นและอยู่ห่างจากเขตโทฟิโน ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่ราว 1,876 คน ทางตะวันตกของเกาะแวนคูเวอร์ นอกชายฝั่งแคว้นบริติช โคลัมเบียไปทางตะวันตกเฉียงใต้ราว 253 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากเมืองพอร์ท อัลเบอร์นีไปทางตะวันตกราว 326 กิโลเมตร
     
        เบื้องต้นยังไม่มีรายงานความเสียหายจากแผ่นดินไหวระดับปานกลางนอกชายฝั่งของแคนาดาครั้งนี้ แม้จะมีรายงาน แรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวสามารถรับรู้ได้ในบางพื้นที่ของนครวิคทอเรีย ที่เป็นเมืองเอกของแคว้นบริติช โคลัมเบียที่อยู่ห่างจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวเกือบ 400 กิโลเมตร รวมถึงหลายพื้นที่ในมลรัฐวอชิงตันทางตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐฯ เช่นกัน
     
        ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 9 กันยายน ปีที่แล้ว เคยเกิดแผ่นดินไหวซึ่งวัดความรุนแรงได้ที่ระดับ 6.4 ใกล้กับเกาะแวนคูเวอร์ของแคนาดาแห่งนี้ โดยแรงสั่นสะเทือนที่วัดได้ที่ระดับ 6.4 ถือเป็นแรงสั่นสะเทือนที่รุนแรงที่สุดในรอบเกือบ 7 ปี อย่างไรก็ดี ไม่มีรายงานความเสียหายจากแผ่นดินไหวครั้งนั้นเช่นเดียวกัน

วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

พยากรณ์อากาศประจำวัน 18 ส.ค.55


เมื่อเวลา 13.00 น. วันนี้ (18 ส.ค.55) พายุโซนร้อน “ไคตั๊ก” (KAI-TAK) ได้อ่อนกำลังลงเป็น
พายุดีเปรสชันแล้ว และเมื่อเวลา 15.00 วันนี้ (18 ส.ค.55) มีศูนย์กลางอยู่บริเวณประเทศเวียดนามตอนบน หรือที่ละติจูด 22.5 องศาเหนือ ลองจิจูด 103.0 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กำลังเคลื่อนตัวทางตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่า พายุนี้จะมีกำลังอ่อนลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำในระยะต่อไป ส่งผลทำให้ประเทศไทยมีฝนหนาแน่น และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลางด้านตะวันตก ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ในระยะนี้
ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเพิ่มความระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือในระยะ 1-2 วันนี้

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภัยพิบัติธรรมชาติ


ความหมายของภัยพิบัติธรรมชาติ
           ภัยพิบัติธรรมชาติ  หรือคำในภาษาอังกฤษ Natural Disasters  หมายถึง เหตุการณ์ที่อาจเกิดจากธรรมชาติ หรือเกิดจากการกระทำของมนุษย์ที่อาจเกิดขึ้นปัจจุบันทันด่วนหรือค่อย ๆ เกิด มีผลต่อชุมชนหรือประเทศชาติ ภัยพิบัติอาจเป็นได้ทั้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น อุทกภัย หรือเป็นเหตุการณ์ที่มนุษย์กระทำขึ้น เช่น การแพร่กระจายของสารเคมี เป็นต้น

รูปแบบของภัยพิบัติธรรมชาติ

ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ( Natural Disasters) รูปแบบต่าง ๆ ทางธรรมชาติที่ได้มีการศึกษารวบรวม และบันทึกรายละเอียดไว้ อาจสรุปได้เป็น 10 ประเภท คือ
1. การระเบิดของภูเขาไฟ ( Volcano Eruptions)
2. แผ่นดินไหว ( Earthquakes)
3. คลื่นใต้น้ำ ( Tsunamis)
4. พายุในรูปแบบต่าง ๆ ( Various Kinds of storms) คือ

·       พายุแถบเส้น  Tropics  ที่มีแหล่งกำเนิดในมหาสมุทร (Tropical Cyclones)

·       พายุหมุนที่มีแหล่งกำเนิดบนบก ( Tornadoes)

·       พายุฝนฟ้าคะนอง ( Thunderstorms)
5. อุทกภัย ( Floods)
6. ภัยแล้ง หรือทุพภิกขภัย ( Droughts)
7. อัคคีภัย ( Fires)
8. ดินถล่ม และโคลนถล่ม ( Landslides and Mudslides)
9.  พายุหิมะและหิมะถล่ม (Blizzard and Avalanches) และ
10. โรคระบาดในคนและสัตว์ ( Human Epidemics and Animal Diseases)

วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ดาวเทียม Qoickbird













        เป็นดาวเทียมเชิงพาณิชย์ของ สหรัฐอเมริกา โดยบริษัท Digital Globe ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ.  2544  ณ ฐานทัพอากาศ Vandenberg รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา


น้ำหนัก
1,018 กิโลกรัม
ความสูงของการโคจร
450 กิโลเมตร
ลักษณะการโคจร
สัมพันธ์กับดวงอาทิตย์โดยผ่านขั้วโลก
เอียงทำมุมกับแกนโลก
98 องศา
เวลาท้องถิ่นในการบันทึกข้อมูล
10:30 น.
เวลาในการโคจรรอบโลก 1 รอบ
93.4 นาที
จำนวนรอบของการโคจรใน 1 วัน
14.5 รอบ
บันทึกข้อมูลซ้ำที่เดิม
1 - 3.5 วัน ขึ้นอยู่กับเส้นรุ้ง
ระบบบันทึกข้อมูล
Multispectral และ Panchromatic
รายละเอียดภาพ
Pan: 61 เซนติเมตร (nadir) to 72 เซนติเมตร (25° off-nadir
MS: 2.44 เมตร (nadir) to 2.88 เมตร (25° off-nadir)
ความกว้างของภาพ
16.5 กิโลเมตร
อายุการทำงานที่ค่ดหมาย
5 ปี

ดาวเทียม Landsat



         Landsat เป็นชื่อของชุดดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติที่ขึ้นสู่วงโคจร และทำการบันทึกข้อมูลพื้นผิวโลกมาเกือบ 3 ทศวรรต (ดาวเทียมดวงแรกของโครงการถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 1972 และต่อมาดาวเทียมถูกเรียกว่า Landsat ในปี 1975) โดยในระยะแรกโครงการอยู่ภายใต้การจัดการขององค์การ NOAA ของสหรัฐ แล้วถ่ายมาให้อยู่ภายใต้การจัดการของ Earth Observing Satellite Company (EOSAT) ในปี 1984 และต่อมารัฐบาลสหรัฐได้กำหนดให้เป็นพันธกิจของรัฐบาลในการที่จะมีการสำรวจทรัพยากรด้วยดาวเทียมอย่างต่อเนื่อง และได้กำหนดพันธกิจนี้ไว้ในกฏหมายชื่อ The 1992 Land Remote Sensing Policy Act และให้การจัดการดาวเทียม Landsat กลับมาอยู่ภายใต้ USGS และ NASA ในโครงการ U.S. Global Change Research Program (ถ่ายโอนคืนจากการจัดการในเชิงพาณิชย์ มาอยู่ภายใต้การจัดการของหน่วยงานของรัฐบาลกลาง)

        ปัจจุบันดาวเทียม Landsat ที่ทำงานอยู่คือ Landsat 5 และ Landsat 7 (เกิดข้อผิดพลาดกับ Landsat 6 โดยศูนย์ควบคุมไม่สามารถติดต่อกับดาวเทียมได้ในระหว่างการปรับดาวเทียมเข้าสู่วงโคจร ได้มีการหาสาเหตุของปัญหา และกำหนดมาตรการป้องกัน จากนั้นได้เร่งดำเนินการสร้าง และส่ง Landsat 7 ขึ้นสู่วงโคจรในเดือนเมษายน 1999 )

        ภาระกิจของ Landsat คือการสำรวจข้อมูล และเผยแพร่เพื่อการใช้ประโยชน์ของพลเรือน โดยได้มีการพัฒนาอุปกรณ์สำรวจบนดาวเทียมอย่างต่อเนื่อง ในช่วงแรกของโครงการ ดาวเทียม Landsat 1, 2 และ 3 ติดตั้งเครื่องมือสำรวจที่เรียกว่า MSS (Multi-Spectral Scanner) ดาวเทียมรุ่นต่อมา (Landsat 4 และ 5) ติดตั้งเครื่องมือสำรวจที่เรียกว่า TM (Thematic Mapper) และดาวเทียม Landsat 7 ติดตั้งอุปกรณ์ที่เรียกว่า ETM (Enhanced Thematic Mapper)

ระบบสารสนเทศ (Information system)


           ระบบสารสนเทศ (Information system) หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์  ซอฟท์แวร์  ระบบเครือข่าย  ฐานข้อมูล  ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ  พนักงานที่เกี่ยวข้อง และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา  ทุกองค์ประกอบนี้ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนด  รวบรวม จัดเก็บข้อมูล  ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้า สารสนเทศ และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน การตัดสินใจ  การวางแผน  การบริหาร การควบคุม  การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กร (สุชาดา กีระนันทน์, 2541)

            ระบบสารสนเทศ หมายถึง ชุดขององค์ประกอบที่ทำหน้าที่รวบรวม  ประมวลผล จัดเก็บ และแจกจ่ายสารสนเทศ เพื่อช่วยการตัดสินใจ และการควบคุมในองค์กร  ในการทำงานของระบบสารสนเทศประกอบไปด้วยกิจกรรม 3 อย่าง คือ การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ (Input)  การประมวลผล (Processing)  และ การนำเสนอผลลัพธ์ (Output)  ระบบสารสนเทศอาจจะมีการสะท้อนกลับ (Feedback) เพื่อการประเมินและปรับปรุงข้อมูลนำเข้า  ระบบสารสนเทศอาจจะเป็นระบบที่ประมวลด้วยมือ(Manual) หรือระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ก็ได้ (Computer-based information system –CBIS) (Laudon & Laudon, 2001)
แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงระบบสารสนเทศ มักจะหมายถึงระบบที่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบโทรคมนาคม
         
            ระบบสารสนเทศ  หมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ที่จัดเก็บข้อมูล และประมวลผลเป็นสารสนเทศ และระบบสารสนเทศเป็นระบบที่ต้องอาศัยฐานข้อมูล  (CIS 105 -- Survey of Computer Information Systems, n.d.)
             ระบบสารสนเทศ  หมายถึง ชุดของกระบวนการ บุคคล และเครื่องมือ ที่จะเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ  (FAO Corporate Document Repository, 1998)  ระบบสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นระบบมือหรือระบบอัตโนมัติ หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วย คน เครื่องจักรกล(machine)  และวิธีการในการเก็บข้อมูล   ประมวลผลข้อมูล  และเผยแพร่ข้อมูล ให้อยู่ในลักษณะของสารสนเทศของผู้ใช้ (Information system, 2005)

สรุปได้ว่า ระบบสารสนเทศ ก็คือ ระบบของการจัดเก็บ ประมวลผลข้อมูล โดยอาศัยบุคคลและเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินการ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมกับงานหรือภารกิจแต่ละอย่าง

Laudon & Laudon (2001)  ยังอธิบายว่าในมิติทางธุรกิจ ระบบสารสนเทศเป็นระบบที่ช่วยแก้ปัญหาการจัดการขององค์กร ซึ่งถูกท้าทายจากสิ่งแวดล้อม  ดังนั้นการใช้ระบบสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นที่จะต้องเข้าใจองค์กร(Organzations)   การจัดการ (management)  และเทคโนโลยี (Technology)

เมื่อไร ! สงสัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม


             ขึ้นชื่อว่ามะเร็งพอได้ยินก็กลัวกันทั้งนั้น  ยิ่งสตรีที่ตรวจพบว่าเป็นมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก เมื่อคุณหมอบอกว่าแม้ตัดออกหรือทำการรักษาจนหาย ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีโอกาสกลับมาเป็นมะเร็งอีก มาดูกันว่าเราจะสังเกตและดูแลตัวเองอย่างไรดี

ก้อนที่เต้านม ไม่เจ็บสิน่ากลัว
              บ่อยครั้งสาเหตุที่คนไข้มาหาหมอ มาจากก้อนที่เต้านมเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมา คือ อาการเจ็บเต้านม ผู้หญิงส่วนใหญ่เมื่อมีอาการเจ็บเต้านม มักจะเริ่มสังเกตและคลำที่เต้านม ส่วนหนึ่งจะพบก้อนร่วมด้วย อีก ส่วนหนึ่งไม่พบก้อนหรือไม่แน่ใจ แต่มักจะลงเอยด้วยการพบหมอหรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้มั่นใจว่าไม่เป็นมะเร็งเต้านม ซึ่งมักจะมาพบหมอค่อนข้างเร็ว ผิดกับผู้ที่มีก้อนที่เต้านม คลำได้ แต่ไม่รู้สึกเจ็บ มักจะปล่อยเอาไว้เพราะคิดว่าไม่เป็นไร


ซีสมักจะเจ็บ ส่วนมะเร็งมักจะไม่เจ็บ
               ในบรรดาก้อนที่เต้านมนั้น มีโรคกลุ่มหลัก ๆ อยู่ 3 กลุ่ม คือ 1) ซีสเต้านม 2) เนื้องอกเต้านม (ไม่ร้าย) 3) มะเร็งเต้านม ซีสที่เต้านมจะมีการเปลี่ยนแปลงตามรอบเดือน โตก่อนรอบเดือนมาและเล็กลงหลังรอบเดือนมาแล้ว ส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยที่มีซีส มักจะเจ็บที่ก้อน ซึ่งผิดกับกลุ่มเนื้องอกหรือมะเร็ง ซึ่งมักจะไม่ค่อยเจ็บ พบว่าร้อยละ 90 ของคนที่เป็นมะเร็งเต้านม ระยะเริ่มแรกจะมีแต่ก้อน ไม่มีอาการเจ็บ ผู้หญิงหลายๆ คนมีความเข้าใจผิดคิดว่าก้อนที่ไม่เจ็บคงไม่เป็นไรและปล่อยทิ้งไว้จนกระทั่งก้อนมะเร็งใหญ่โตขึ้นมากแล้วจึงรู้สึกเจ็บได้

มะเร็งเต้านมพบได้บ่อยแค่ไหน
                แนวโน้มคนไทยป่วยเป็นโรคมะเร็งสูงขึ้นทุกปี ซึ่งกว่าร้อยละ70 ของ โรคมะเร็ง เกิดจากสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศที่เปลี่ยนไป มีมลภาวะเพิ่มมากขึ้น สารพิษที่ปนเปื้อนมากับอาหาร รวมถึงความเครียดภายในจิตใจ จากอุบัติการณ์ในการเกิดโรคมะเร็ง โดยเฉลี่ยแล้วทุก ๆ 3 ชั่วโมง จะพบว่าผู้หญิงไทยป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านม 2 คน และพบว่ามีอัตราการเสียชีวิตถึงร้อยละ 30 ของ การเกิดโรคมะเร็งเต้านม ทั้งนี้อัตราการพบมะเร็งเต้านมในแต่ละประเทศไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติและวิถีการดำเนินชีวิต เช่น ในประเทศตะวันตก พบมะเร็งเต้านมได้มากกว่า 100 คน ในสตรีวัยเจริญพันธุ์ 1 แสน คน ส่วนในเอเชียพบน้อยกว่า ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยาของไทยที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารระบาดวิทยาระดับ โลก พบว่าหญิงไทยมีอัตราการพบมะเร็งเพียง 40 คน ในสตรีวัยเจริญพันธุ์ 1แสนคน ซึ่งถ้าเทียบเป็นร้อยละก็เพียง 0.04  ซึ่งนับว่าน้อยมาก

ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง
                 อายุ ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดต่อการเป็นมะเร็งเต้านม พบว่ายิ่งอายุมากขึ้นโดยเฉพาะสตรีวัย 60 ปีขึ้นไป ยิ่งมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมสูงถึงร้อยละ 50 – 60  รองลงมาคือการเคยผ่าตัดก้อนเนื้อที่เต้านม และพบว่าเป็นซีสเต้านมชนิดที่เริ่มผิดปกติ (atypia) และการพบว่ามีญาติสนิท(แม่ พี่สาว น้องสาว หรือลูก) เป็นมะเร็งเต้านมมากกว่า 2 คน รวม ถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่มีความเสี่ยงเพียงเล็กน้อย ได้แก่ การเริ่มมีประจำเดือนมาครั้งแรกตั้งแต่อายุยังน้อย การหมดประจำเดือน (วัยทอง) ช้า การไม่มีบุตร  หรือมีบุตรยาก และการที่เคยใช้ยากลุ่มฮอร์โมนในวัยหมดประจำเดือนติดต่อกันเป็นเวลานานมากกว่า 10 ปี เป็นต้น

สงสัยว่าเป็นมะเร็งเมื่อไร 
                   ดังได้กล่าวมาแล้ว มะเร็งเต้านมส่วนใหญ่จะไม่มีอาการเจ็บหรือปวด (มีเพียงร้อยละ10 ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มาพบหมอด้วยอาการปวดเต้านม) แต่จะคลำพบก้อนที่เต้านม สังเกตถ้าก้อนที่เป็นมะเร็งเต้านมมักจะแข็งและขรุขระ แต่อาจเป็นก้อนเรียบๆ ได้  อาการ อื่น ๆ อาจพบผิวหนังที่เต้านมบุ๋มลงไปคล้ายลักยิ้ม หรือมีรูปร่างของเต้านมผิดไปจากเดิม หรืออาจมีแผลที่หัวนมและรอบหัวนม หรือมีน้ำเหลืองหรือน้ำเลือดไหลออกจากหัวนม บางรายคลำพบก้อนบริเวณรักแร้ และนานๆ ครั้งจะพบมะเร็งเต้านมที่มีอาการบวมแดงคล้ายการอักเสบที่เต้านม นอกจากอาการผิดปกติที่เต้านมแล้ว การตรวจเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรม(mammogram) และ อัลตราซาวด์ (ultrasound) ยังสามารถตรวจพบมะเร็งเต้านมขนาดเล็กตั้งแต่ยังไม่มีอาการได้ โดยอาจพบก้อน หรือจุดหินปูนในเนื้อเต้านมได้

ตรวจเลือดและยีน (gene)  บอกได้ไหมว่าเป็นมะเร็งเต้านม
                   การตรวจเลือดเพื่อหามะเร็งเต้านมนั้น  มีความแม่นยำค่อนข้างต่ำ เนื่องจากผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านมจะพบผลการตรวจเลือดเกี่ยวกับมะเร็ง เช่น CA153, CEA ผิดปกติน้อยกว่าร้อยละ 20 ขณะเดียวกันผู้ที่มีผลเลือดปกติ ก็อาจเป็นมะเร็งเต้านมอยู่แล้ว
                  ส่วนการตรวจยีน เช่น gene BRCA1, BRCA2 ซึ่ง จะมีความผิดปกติในมะเร็งเต้านมที่เป็นกันทั้งครอบครัว หากตรวจพบก็ไม่ได้หมายความว่า กำลังเป็นมะเร็งอยู่ เพียงแต่ทำให้รู้ว่าโอกาสจะพบมะเร็งเต้านมในคน ๆ นั้นมีมากกว่าคนทั่วไป และยีนดังกล่าวก็พบได้เพียงร้อยละ 5 - 10 ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทั้งหมด ดังนั้นหากตรวจยีนดังกล่าวแล้วปกติก็ยังมีสิทธิ์เป็นมะเร็งเต้านมอยู่ไม่น้อย

                  รู้อย่างนี้แล้วกันไว้ดีกว่า ด้วยการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำ พบแพทย์ตรวจเมื่อมีอาการสงสัย อย่าปล่อยไว้เพราะไม่เจ็บ และตรวจแมมโมแกรมประจำปีตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป จะได้ไม่ต้องเสียใจภายหลัง