ลักษณะและรูปแบบของการตั้งถิ่นฐานเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงการปรับตัวของมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสัมพันธ์กับแบบแผนทางวัฒนธรรม ตลอดจนประเพณีความเชื่อของกลุ่มชนต่าง ๆ เหล่านั้น
ลักษณะของการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความสัมพันธ์กับลักษณะสภาพแวด ล้อมและเศรษฐกิจการดำรงชีพซึ่งลักษณะการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มี 3 ลักษณะ คือ
1. การตั้งถิ่นฐานแบบชั่วคราว
เป็นการตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่ช่วงระยะเวลาสั้น ๆ และมีการเคลื่อนย้ายไปยังบริเวณอื่น การตั้งถิ่นฐานลักษณะนี้เป็นการดำรงอยู่ของกลุ่มชนที่พึ่งพาความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรตามธรรมชาติเช่น สัตว์ป่า พืชพันธุ์ แหล่งน้ำ และความอุดมสมบูรณ์ของดิน ลักษณะของการตั้งถิ่นฐานแบบชั่วคราวทำให้กลุ่มชนที่รวมตัวกันตั้งถิ่นฐานมีขนาดไม่ใหญ่ เนื่องจากข้อจำกัดของทรัพยากรและความสะดวกในการเคลื่อนย้าย รูปแบบการดำรงชีพของการตั้งถิ่นฐานแบบชั่วคราวมีลักษณะการประกอบอาชีพอย่างง่ายอันประกอบไปด้วย
1 การล่าสัตว์และเก็บเกี่ยวพืชพันธุ์ (Hunting and Gathering) กลุ่มชนที่ดำรงชีพอยู่ด้วยการเก็บ
ของป่าและล่าสัตว์ส่วนใหญ่มีเทคโนโลยีแบบง่าย ๆ เช่น การใช้เครื่องมือหิน และเครื่องมืออย่างง่ายอื่น ๆ ซึ่งอาจอาศัยอยู่ตามเพิงผาหรือถ้ำ หรือบริเวณพื้นที่ราบเชิงเขา
2. การเร่ร่อนเลี้ยงสัตว์ (Normadic Herding) การเร่ร่อนเลี้ยงสัตว์คือ กลุ่มชนที่เลี้ยงสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหารเป็นฝูง และเคลื่อนย้ายไ ปตามฤดูกาล
2. การตั้งถิ่นฐานแบบกึ่งถาวร
3. การตั้งถิ่นฐานแบบถารวร
ตั้งถิ่นฐานหลักแหล่งที่แน่นอน มีการเคลื่อนย้ายถิ่นน้อยหรืออาจไม่เคลื่อนย้ายถิ่นฐานเลย พื้นฐานของการตั้งถิ่นฐานรูปแบบนี้เป็นการตั้งถิ่นฐานเพื่อการเพาะปลูกเช่นเดียวกัน แต่การเพาะปลูกเป็นการเพาะปลูกพืชที่มีการหมุนเวียนเพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินหรือการตั้งถิ่นฐานเพื่อเพาะปลูกในบริเวณที่ราบลุ่มซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ของดินจากตะกอนลำน้ำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น