วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การวิเคราะห์การตั้งถิ่นฐาน


                 
                การพิจารณาวิเคราะห์การตั้งถิ่นฐานของคนในอดีตสัมพันธ์กับการใช้ความรู้ทางภูมิศาสตร์การตั้งถิ่นฐาน แหล่งน้ำ สภาพความเหมาะสมของดินกับการดำรงชีพของมนุษย์ในอดีต ซึ่งปัจจัยที่สำคัญก็คือ การทำความเข้าใจสภาพที่แท้จริงในอดีต ความเป็นไปได้ของสภาพแวดล้อมในอดีต ซึ่งแตกต่างจากปัจจุบัน ปัจจัยสำคัญของการวิเคราะห์โบราณคดีการตั้งถิ่นฐาน คือ ชุมชน การจัดระเบียบทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ชาเรอร์ และอาชมอร์ (Sharer and Ashmore, 1979 : 423) จัดระดับของการวิเคราะห์แบบแผนการตั้งถิ่นฐานของชุมชนในอดีตไว้ 3 ระดับ คือ
             1. หน่วยเล็กที่สุดอันหมายถึง การศึกษากิจกรรมที่เกิดขึ้นในเฉพาะพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง เช่น ในถ้ำ บ้านเรือนที่อยู่อาศัย
                  2. ความสัมพันธ์ระหว่างบ้านเรือน หรือความสัมพันธ์ภายในกลุ่ม ซึ่งอยู่ในขอบเขตพื้นที่เดียวกัน เช่น เนินดิน
                  3. การศึกษาโดยกว้าง คือ การวิเคราะห์การกระจายของกลุ่มชุมชนความสัมพันธ์ระหว่าง ชุมชนแต่ละแห่งในอาณาบริเวณเดียวกันหรือใกล้เคียงกันทางด้านแนวทางในการวิเคราะห์นั้น ทริกเกอร์ (Trigger,1968 : 54 ) เสนอว่ามีแนวทางหลักในการวิเคราะห์การตั้งถิ่นฐานของคนในอดีต 2 ประการ คือ               

      ประการแรก คือแนวทางการวิเคราะห์เชิงนิเวศน์วิทยาเทคโนโลยี และสภาพแวดล้อมซึ่งเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง มนุษย์กับระบบนิเวศน์วิทยา ในการตีความแบบแผนของการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในเบื้องต้น เพื่อที่จะให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างระบบสังคมเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อม 
      
      ประการที่สอง คือการทำความเข้าใจในแง่ลึกถึงการจัดระเบียบทางสังคม การตี
ความหมายทางวัฒนธรรมอันเกิดจากการปรับตัวกับสภาพแวดล้อม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น